ภาษาวิบัติ

เพลงฉ่อยภาษาไทย

การอ่าน 2

การอ่าน1

การเขียน

การเขียน 2

การฟัง การดู การพูด

หลักภาษา 1

หลักภาษา2

วรรณคดี

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ให้นักเรียนจัดทำบัตรอวยพรปีใหม่ โดยใช้โปรแกรม

เริ่มด้วย 
-----1. start          Microsft office -------  Microsft office  Publisher 2007

2. เลือกประเภทสิ่งพิมพ์   บัตรอวยพร

3. เลือกรูปแบบที่ต้องการ   คลิก สร้าง

โปรแกรมประกอบด้วย 4 หน้ากระดาษดังนี้
หน้าท ี่ 1

หน้าที่ 2-3 

หน้าที่ 4



       

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555


แบบฝึกทักษะ เรื่องการเขียนเพื่อการสื่อสาร ( ท 2.1-ป.6/2 เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้องชัดเจน และเหมาะสม)

ให้นักเรียนออกแบบและเขียนภาพโฆษณาประชาสัมพันธ์งานนมัสการปิดทองหลวงพ่อโต วัดสัตตนารถปริวัตร 1-3 ม.ค.56

ตัวอย่างงาน...


วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ค้นคว้าหานิทานพื้นบ้านจากเว็บไซต์ต่าง ๆ  นำเสนอทำเป็นแผ่นพับ 

ตัวอย่างเว็บไซต์

http://xn--o3cdbaaf0a2nen1byqc.whitemedia.org/

http://www.baanmaha.com/community/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99/


หรือจะค้นคว้าจากตัวอย่างอื่น ๆ ก็ได้ค่ะ

ผลงานที่ได้ก็จะหน้าตาแบบนี้ค่ะ





วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



ศึกษาตัวอย่างโวหารแต่ละชนิดจากเว็บไซต์ต่าง ๆ แล้วทำแบบทดสอบ

แบบทดสอบเรื่อง โวหารในภาษาไทย
ให้นักเรียนอ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วพิจารณาว่าเป็นโวหารชนิดใด
๑. พ่อแม่ของธนามีอาชีพเลี้ยงเป็ดพันธุ์ไข่คราวละหลายร้อยตัว เป็ดเหล่านี้กำลังออกไข่ทุกวัน ธนาจึงตื่นแต่เช้าเก็บไข่เป็ดในเล้า ให้แม่นำไปขายที่ตลาด     
๒. ผิวน้ำสีขุ่นที่ถูกสายลมเย็นปลายเดือนกุมภาพันธุ์โชยพัดผ่าน ทำให้น้ำเป็นระลอกทยอยเข้ากระทบฝั่งครั้งแล้วครั้งเล่า ดงดอกหญ้าริมฝั่งที่เหี่ยวแห้งจนกลายเป็นสีน้ำตาลปะทะลมดังหวีดหวิว    
๓.ความพยายามและความตั้งใจที่จะก้าวหน้า เป็นพลังสำคัญสำหรับต่อสู้อุปสรรค และส่งเสริมบุคคลให้ทำการต่างๆได้สำเร็จ ยิ่งผู้นั้นมีความรู้สูง มีจิตใจดีเป็นพื้นฐาน ผลงานที่ทำยั้งมีผลกว้างขวาง ปราศจากโทษและอำนวยประโยชน์แก่ตนและส่วนรวมเป็นอย่างยิ่ง   
๔. เขารักษาความดีประดุจเกลือรักษาความเค็ม ทำให้มีแต่คนนับถือ     
๕ .ฝนตกราวฟ้ารั่ว ทะเลมัวมีแต่ฝ้าสีขาวๆ ห่อหุ้ม ฤดูเดือนมรสุม ทั้งที่ กลางวัน อย่างนี้ก็มองมืนหม่นมัว ดูคล้ายกับว่ากลางคืนยังไม่อยากจะจากไป คลื่นยักษ์กระทบฝั่ง สาดฝอยนํ้ากระจาย รดบ้านชายทะเลแข่งกับสายฝน ผมแลลอดช่องแตกตามฝาบ้านออกไป เห็นแสงไฟ  
๖. วอมแวมดั่งแสงดาวริบหรี่ ลอยอ้างว้างวังเวงอยู่ระหว่างทะเลมืด แล้วก็ลับหายไปด้วยคลื่นยักษ์บดบังราวกับดาวร่วงหาย   
๗. การแต่งกายของวัยรุ่นสมัยนี้เป็นที่ รู้กันดีว่าล่อแหลมเหลือเกิน โชว์สะดือบ้าง เอวลอยบ้าง สายเดี่ยว หรือบางครั้งก็เป็นเกาะอกบ้าง ดูแล้วน่าใจหาย หวนกลับมาคิดถึงลูกตัวเองซึ่งถ้าทําแบบนั้นเราคงต้องขาดใจตายแน่นอน ซึ่งในวัยนี้ควรจะแต่งตัวที่ รัดกุมและเรียบร้อย เหมาะสมกับวัยและกาลเทศะ
๘. สารอาหารในข้าวกล้องจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยป้องกันโรคอ้วน ข้าวกล้องมีสารเส้นใยมากกว่าข้าวขาว 8 เท่า ข้าวกล้องจะช่วยดูดซับไขมันและน้ำตาลในอาหารแล้วขับออกมาเป็นกากอาหาร ทำให้ไขมัน และน้ำตาลซึมเข้ากระแสเลือดน้อยลง  
๙. งานที่ออกมาแล้วไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ถ้าจะวิเคราะห์ปัญหาออกมา ก็อาจ ทำให้ทราบว่าตีเหล็กผิดจังหวะ เพราะว่ายังไม่ร้อนพอหรือร้อนแล้วแต่ตีช้าไป เหล็กเย็นก่อนงานเสร็จก็เป็นบทเรียนว่าครั้งต่อไปต้องทำงานให้เร็วและดีกว่าเดิม 
 ๑๐. การคบคนดีเป็นศรีแก่ตัว แต่ทั้ง ๆ ที่พูดอย่างนี้ คนที่ขาดปัญญาและขาดสติ ก็ยังหลงไปคบกับคนที่เลว คนที่สังคมรังเกียจ โดยหารู้ไม่ว่านั่นคือทางหายนะของตน คนบางคนทั้ง ๆ ที่รู้ว่าการพนันเป็นบ่อเกิดแห่งความชั่ว ก็ยังเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่นั่นเอง สิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัวของเราที่สุดที่เราควรช่วยกันอนุรักษ์คือสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ โรงเรียนของเรานั่นเอง 

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเขียนรายงาน

รูปแบบการเขียนรายงาน
ส่วนประกอบรายงาน
1.             ปกนอก
2.             ปกรอง (กระดาษเปล่าสีขาว)
3.             ปกใน (เหมือนปกนอกทุกประการแต่ใช้กระดาษขาว)
4.             คำนำ
5.             สารบัญ
6.             เนื้อหา
7.             บรรณานุกรม หรือแหล่งอ้างอิง
8.             ภาคผนวก  (ในที่นี้ให้รอคำสั่งจากครูว่าจะให้ใส่อะไรในภาคผนวก)
9.             ปกรองหลัง (กระดาษเปล่าสีขาว)
10.      ปกหลัง

รูปแบบของปก
ปกจะประกอบด้วยข้อความ  ส่วนคือ
ส่วนที่  1  คือชื่อเรื่องรายงาน 
ส่วนที่  2  คือชื่อผู้จัดทำรายงาน
ส่วนที่  3  คือเสนอใคร
ส่วนที่  4  คือบอกถึงรายงานฉบับนี้เป็นของวิชาอะไร ภาคเรียนและปีการศึกษาใด โรงเรียนอะไร  

ข้อความทั้ง 4  ส่วน ให้มีการเว้นระยะห่างของแต่ละส่วนให้เท่า ๆ กัน
ข้อความส่วนที่ 1  อาจมีขนาดอักษรที่ใหญ่กว่าข้อความส่วนอื่น ๆ ก็ได้
ข้อความในส่วนที่ 2 – 3  ควรใช้ขนาดอักษรที่เท่ากัน
สำหรับข้อความในส่วนที่ 4  ขนาดอักษรอาจมีขนาดเท่ากับส่วนที่ 2 และ 3  หรืออาจจำเป็นต้องมีขนาดอักษรที่เล็กกว่าส่วน 2 – 3  เล็กน้อย
ดังตัวอย่างรูปแบบของปกรายงานดังนี้







             เนื้อหา ของเรื่องรายงาน  มีข้อกำหนดดังนี้
-                   ข้อความที่เป็นชื่อเรื่อง (มักจะอยู่ที่หน้าแรกของเนื้อหารายงาน) ใช้ขนาด 18 – 20  หนา
 จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
-                   ข้อความที่เป็นหัวข้อย่อย  ใช้ขนาด  18  หนา  ชิดซ้าย เหมือนกันทั้งฉบับ
-                   ข้อความที่เป็นเนื้อหา หรือเนื้อเรื่องใช้ขนาด 16  ธรรมดา เหมือนกันทั้งฉบับ
-                   รูปแบบอักษรให้ใช้แบบเดียวกันทั้งฉบับ 
-                   สีอักษร  โดยทั่วไปและแบบเป็นทางการจะใช้สีดำ
-                   เนื้อหาในบางส่วนจำเป็นต้องมีรูปภาพมาประกอบเพื่อจะได้มองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
ซึ่งจะต้องใช้รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายงาน
-                   ข้อความเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ ให้ขึ้นต้นบรรทัดใหม่และมีการย่อหน้า
-                   ในส่วนของการย่อหน้าให้ย่อหน้าเท่ากันทั้งฉบับ
-                   ข้อความเนื้อหาที่เป็นการจัดเรียงลำดับเลขข้อ หรือเลขข้อย่อยก็ควรใช้ในรูปแบบที่เหมือนกันและจัดย่อหน้าให้เท่ากัน ย่อหน้าเป็นระดับชั้นที่ถูกต้องด้วย
-                   ให้ใส่เลขหน้าในรายงานด้วยเพื่อจัดทำสารบัญ  โดยจัดวาง และใช้รูปแบบเดียวกันทั้งฉบับ





 











ข้อสังเกตที่ตรวจพบ
นักเรียนคัดลอกข้อความมาจาก internet  มาวางบน word  แต่ไม่มีการปรับเปลี่ยน  ขนาดอักษร รูปแบบอักษร  สีข้อความ กันเลย (คัดลอกมาอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นถือว่าไม่ถูกต้อง) และบางข้อความมีการทำ Link  ไว้ ก็ไม่ได้เอา Link ออก (ข้อความมีการขีดเส้นใต้สีข้อความต่างจากข้อความอื่นๆ)
นักเรียนไม่ได้อ่านตรวจสอบถึงความสัมพันธ์ของข้อความในแต่ละวรรคตอน ไม่ตรวจสอบคำถูกคำผิด
ฉะนั้นขอให้นักเรียนได้ตรวจสอบให้ดีและรอบคอบก่อนส่งครูทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นวิชาใดก็ตามนักเรียนควรจัดทำรายงานให้เป็นมาตรฐานหรือมีรูปแบบที่เป็นสากล เพื่อแสดงให้เห็นถึงภูมิความรู้ที่นักเรียนมีอยู่
ขอให้นักเรียนโชคดี และหวังว่านักเรียนจะนำข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในโอกาสต่อ ๆ ไปได้

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การใช้พจนานุกรม

ให้นักเรียนเลือกคำต่าง ๆ จากพจนานุกรม แล้วพิจารณาว่า เราทราบอะไรจากคำที่ค้นคว้าบ้าง นอกจากการสะกดคำและความหมายของคำ


เปิด เว็บไซต์นี้สำหรับการค้นหาค่ะ





ตัวอย่าง


                                                                                                                                                      
1. ซวย(ปาก) ว. เคราะห์ร้าย, อับโชค. (จ.).    

( ปาก ) = ภาษาปาก
ว. = เป็นคำวิเศษณ์
(จ.) = มาจาก ภาษาจีน

2. ดาราาว, ดวงดาว(ป., ส. ตารา).
น. = เป็นคำนาม
(ป.,ส). =บอกที่มาของคำ มาจากภาษาบาลี สันสกฤต ว่า ตารา

3. 
เกม ๒(ปาก) ก. สิ้นสุด, จบ, เช่น เรื่องนี้เกมไปนานแล้ว. (อ. game).

(ปาก) =  ภาษาใช้เฉพาะกลุ่ม
ก. = เป็นคำกริยา
( อ.game) = บอกที่มาของคำ มาจากภาษาอังกฤษ

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


แบบทดสอบเรื่องชนิดของคำไทย ตอน คำสรรพนาม   
แบบทดสอบเรื่องคำสรรพนาม
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
๑.  "เขา"  ข้อใดเป็นคำสรรพนาม
              ก.  ลุงทำนาที่หลังเขา   ข.  เขามันแหลมมาก
              ค.  เขานี้สูงมาก           ง.  เขาไม่แข็งแรง
๒. "หนูมาหาใครจ้ะ"  คำว่า "หนู"  เป็นสรรพนามชนิดใด
             ก.  อนิยมสรรพนาม        ข. นิยมสรรพนาม
             ค.  วิภาคสรรพนาม        ง.  บุรุษสรรพนาม
๓. "แก"  ในข้อใดไม่ใช่สรรพนามบุรุษที่ ๒
             ก.  ฉันว่าแกทำอย่างนี้ไม่ถูก      ข.  ตามีแกขี้บ่นเหลือเกิน
             ค.  แกจะไปดูผลสอบกับฉันไหม ง.  เพราะแกทีเดียว เรื่องถึงเป็นแบบนี้
๔.  ข้อใดใช้วิภาคสรรพนาม  "ต่าง" ไม่ถูกต้อง
              ก.  คนเราต่างจิตต่างใจ
              ข.  นักเรียนต่างขะมักเขม้นอ่านหนังสือเตรียมสอบ
              ค.  ชาวสวนต่างก็ดายหญ้าในสวนเป็นการใหญ่
              ง.  มดดำต่างก็ขนไข่หนีฝน
๕.  "เมื่อวานนี้ เขา(๑)เจอคุณกมลที่บ้านพี่ทัศนา  เขา(๒)พูดถึงตัวด้วย  เขา(๓)ยังบอกเลยว่า
      อยากรู้จักมานานแล้ว"  คำว่า "เขา" ในข้อใดจัดเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑
              ก. เขา(๑)                   ข. เขา(๒)
              ค. เขา(๓)                   ค. เขา(๒)และ    เขา(๓)
๖. "ใคร"  ในข้อใดเป็นอนิยมสรรพนาม
                ก.  ใครจะเป็นคนช่วยแม่ทำอาหารจ๊ะ
                ข.  ใคร ๆ ก็อยากรวยด้วยกันทั้งนั้น
                ค.  เพื่อนสนิทของเธอเป็นใคร 
                ง.  ใครอยู่ในห้องน้ำ
๗.  สรรพนามในข้อใดจัดเป็นปฤจฉาสรรพนาม
                ก.  นั่นคือบ้านหลังใหม่ของฉัน 
                ข.  อะไร ๆ ก็ดูรกหูรกตาไปหมด
                ค.  ใครเก็บกระเป๋าได้เมื่อวานนี้
                ง.  เธอเรียนอยู่โรงเรียนอะไร
๘.  ข้อใดไม่ใช่สรรพนามบุรุษที่ ๑
               ก.  ฉันจะไปเที่ยวภูหินร่องกล้า
               ข.  ดิฉันต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการนี้
               ค.  เธอจะไปด้วยกันไหม 
               ง.  เราต้องรีบไป
๙.  "ที่"   ในข้อใดจัดเป็นประพันธสรรพนาม
              ก.  ฉันสอบได้ที่หนึ่ง
              ข.  สุวนันท์เรียนที่โรงเรียนนี้
              ค.  ฉันทนาสนิทกับราตรีมากที่สุด
              ง.  คนที่เดินอยู่นั้น พักข้างบ้านฉันเอง
๑๐. ข้อใดมีสรรพนามมากที่สุด
              ก. นี่เธอ อะไรเป็นคนที่ทำให้เรื่องมันยุ่ง  ใครก็ได้มาช่วยกัน
              ข. นักเรียนทุกคนต่างก็ตั้งใจเรียน ไม่มีใครเหลวไหลบ้างเลย
              ค.  เพื่อน ๆ ใครจะไปเที่ยวกับเราบ้าง วันพรุ่งนี้รถออกเจ็ดโมง
              ง.  คุณแม่ห่อข้าวมาให้พวกเราที่มาทำงาน มากินกันนะ
นำเสนอโดย : นางเพลินพิศ สุพพัตกุล
โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม
สพท. บุรีรัมย์ เขต2
อยู่ในขั้น : เจ้ายุทธภพ
ที่มา : http://www.sahavicha.com